วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563


Pooh Hello GIF - Pooh Hello Hi - Discover & Share GIFs

Learning Log 11
Friday 24th April 2020

สัปดาห์นี้เป็นอีกสัปดาห์ที่เรียนผ่านแอพลิเคชั่นZOOM ท่านอาจารย์ได้สั่งงานทั้งหมด เป็นจำนวน 4งาน  ดังนี้

ชิ้นที่ 1
ชิ้นที่ 2


ชิ้นที่ 3


ชิ้นที่ 4


จากการทำงานในวันนี้เกอชิดปัญหาขึ้นเนื่องจากอินเตอร์เน็ตไม่เสถียรทำให้ส่งงานล่าช้ากว่าที่อาจารย์กำหนด

ประเมินอาจารย์:ท่านอาจารย์ได้ให้เวลาในการทำงานของแต่ละชิ้นในเวลาที่จำกัดและจะต้องเร่งทำส่งให้ทัน ทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นเพิ่มมากขึ้น

หมีพูห์ดุ๊กดิ๊กกับบอลลูนข้อความ | ภาพวาดดิสนีย์, สติกเกอร์, แอนิเมชั่น
Diary Shop แจกของแต่งไดน่ารักๆ]มาแล้ว!! แจกป้าย Welcome > - Zheza ...

Learning Log 10
Friday 17th April 2020

ความสำคัญของสมอง
สมอง เป็นอวัยวะมหัศจรรย์ที่มีความสำคัญมาก โดยสมองของมนุษย์มีระบบซับซ้อนมากที่สุด แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถอธิบายการทำงานได้ทั้งหมด

การทำงานของสมอง

สมองผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยแล้วมีเซลล์สมองจำนวน นับ 1 แสนล้านเซลล์ ซึ่งแต่ละเซลล์จะมีแขนงที่เชื่อมต่อกันกลายเป็นร่างแหขนาดใหญ่ และซับซ้อน  ดังนั้นสมองจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนแผงสวิสซ์ไฟฟ้าสลับซับซ้อนกันอยู่ใรศีรษะ

พัฒนาการด้านโครงสร้างและการทำงานของสมอง


  • สมองส่วนใหญ่ของเด็กวัยนี้จะอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา
  • สมองส่วนรับความรู้สึกมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในระยะนี้
  • ประสาทสัมผัสและการรับรู้ต่างๆ พัฒนาชัดเจนขึ้น
  • การกระตุ้นโดยสัมผัสจะช่วยกระตุ้นการทำงานประสานกันของส่วนรับสัมผัสของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
  • เมื่อสถานีรับข้อมูลจากภายนอกพัฒนาได้เร็ว ก็จะส่งผ่านข้อมูลไปกระตุ้นการทำงานของระบบอื่นๆ ในสมอง เช่น ส่วนความทรงจำ ส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว ส่วนที่ทำงานด้านอารมณ์
  • สมองมีตำแหน่งรับรู้ต่างๆ มากมายเมื่อสมองส่วนหนึ่งทำงาน ก็มีผลต่อการทำงานของสมองอีกส่วนหนึ่งด้วย การพัฒนาเด็กด้านการรับสัมผัส และการเคลื่อนไหวจึงนับเป็นการพัฒนาสมองส่วนต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน และเสริมซึ่งกันและกัน
  • การส่งผ่านข้อมูลภายในสมองได้รับการพัฒนาให้รวดเร็วขึ้นโดยกระบวนการ myelination ทำให้ระบบรับความรู้สึก (sensory) กับระบบควบคุมการเคลื่อนไหว (motor) ทำงานประสานกันดีขึ้น ทำให้สมองพร้อมรับการสำรวจทำความรู้จักโลก
  • Myelination ช่วยให้การพัฒนาความสามารถของเด็กมีความพร้อม เช่น myelination ในบริเวณของสมองที่มีหน้าที่จัดความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ตากับการใช้มือของเด็ก จะพร้อมก็ต่อเมื่อเด็กอายุประมาณ 4 ปี พัฒนาการของสมองที่เชื่อมโยงกับโลกกว้าง นำไปสู่การเรียนรู้ด้านต่างๆ ของเด็กที่ค่อยๆปรากฏตัวขึ้นหลังจากความพร้อมนี้
  • การเคลื่อนไหวเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้สมองได้ใช้ประโยชน์จากเซลล์สมองและซีนแนปส์ ยิ่งเซลล์ส่งผ่านข้อมูลและเกิดจุดซีนแนปส์มากขึ้นเท่าใด เครือข่ายการเชื่อมต่อของวงจรกระแสประสาทก็ยิ่งประสานกระชับมากขึ้น


Phayao Provincial Police

จากนั้นท่านอาจารย์ได้สั่งงานให้ถ่ายคริปเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์


**เข้าเรียนแต่ลงชื่อในแอพลิเคชั่นZOOMไม่ทันเนื่องจากระบบอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร


ประเมินอาจารย์:ท่านอาจารย์ได้คอมเม้นเกี่ยวกับงานที่ส่งไปและ ได้บอกส่วนที่ควรปรับปรุงแก้ใข

ตัวดุ๊กดิ๊กแต่งเว็บไซต์ - เว็บไซต์โรงเรียนสังกัดสพป.เพชรบูรณ์ เขต3

604-10-Arefeen ma'

Learning Log 9
Friday 10th April 2020

*****ขาดเรียน*****
หมายเหตุ ขัดข้องทางระบบอินเตอร์เน็ตเนื้อจากสัญญาณอินเตอร์เน็ตล่ม 

สติ๊ทช์ ดุ๊กดิ๊ก (วันน่ารัก) - สติ๊กเกอร์ไลน์ - Linesticker

ณัฎฐากร อินทรสุวรรณ 2/1

Learning Log 8
Friday 3rd April 2020


สำหรับงานที่ท่านอาจารย์ได้มอบหมายในวันนี้คือ


กิจกรรมวิทยาศาสตร์
ชื่อกิจกรรม น้ำเดินได้
ความคิดรวบยอด
               สีและน้ำเดินทางผ่านตัวกลางนั่นคือกระดาษทิชชู ทำให้เกิดการผสมกันของสี
วัตถุประสงค์
                1. เพื่อส่งเสริมทักษะด้านกระบวนการคิดวิเคราะห์การจินตนาการการตั้งคำถามและการตอบ
              2. เพื่อฝึกทักษะในด้านการสังเกตและการจำแนกการผสมสีประเภทของสี
สื่อและอุปกรณ์
              1. สีผสมอาหาร
              2. แก้วพลาสติก
              3. น้ำ
การจัดกิจกรรม
              1. นำแก้วที่เตรียมไว้ทั้งหมดมาเรียงต่อกัน
              2. เทน้ำลงไปในแก้ว เทแก้วเว้นแก้ว
              3. นำสีผสมอาหารมาใส่ลงในแก้วที่ใส่น้ำไว้ นำกระดาษทิชชูมาม้วนทำเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างแก้วต่อที่ติดกัน
การวัดประเมินผล
              1. สังเกตจากการคิดและหาวิธีม้วนกระดาษทิชชู่เพื่อทำให้น้ำเดินทางได้
              2. สังเกตจากความไวในการเดินทางของน้ำ
              3. สังเกตจากการเรียกชื่อกิจกรรมความจินตนาการของเด็กๆ
              4. สังเกตจากการอธิบายและตอบคำถาม

 เป็นงานคู่ กิจกรรมที่ได้จัดทำคือ "กิจกรรมน้ำเดินได้"

สมาชิก

1. นางสาวรัติยากร  ศาลาฤทธิ์
2. นางสาวมารีน่า  ดาโร๊ส

ประเมินอาจารย์: ท่านอาจารย์ได้ตรวจสอบแบะอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพเคลื่อนไหว รูปภาพเคลื่อนไหวเเละการ์ตูนเคลื่อนไหว

รวมพลคนรักณเดชน์ #476 [กระทู้ร่วมกันเพื่อกรี๊ดณเดชน์] " เธอคือลม ...

Learning Log 7
Friday 27th March 2020

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่2 สำหรับการเรียนออนไลน์ ท่านอาจารย์ได้สอนในหัวข้อวิทยาศาสตร์ โดยให้รายละเอียดไว้ดังนี้ 

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากการปฏิบัติและการฝึกฝนความคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านสติปัญญา การแก้ปัญหาและการค้นคว้าหาความรู้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยทักษะ  ดังนี้

                1. ทักษะขั้นมูลฐาน 8 ทักษะ ได้แก่
                    1.1  ทักษะการสังเกต ( Observing )
          1.2  ทักษะการวัด ( Measuring )
                    1.3  ทักษะการจำแนกหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ ( Classifying )
                    1.4  ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา( Using Space/Relationship )
                    1.5  ทักษะการคำนวณและการใช้จำนวน ( Using Numbers )
                    1.6  ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ( Comunication )
                    1.7  ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ( Inferring )
                    1.8  ทักษะการพยากรณ์ ( Predicting )
                2. ทักษะขั้นสูงหรือทักษะขั้นผสม 5 ทักษะ ได้แก่

                     2.1 ทักษะการตั้งสมมุติฐาน ( Formulating Hypthesis )

                     2.2 ทักษะการควบคุมตัวแปร ( Controlling Variables )
           2.3 ทักษะการตีความและลงข้อสรุป ( Interpreting data )
                     2.4 ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ( Defining Operationally )
           2.5 ทักษะการทดลอง ( Experimenting )
         1.  ทักษะการสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป การสังเกตเป็นกระบวนการหลักที่จะนำไปสู่การค้นพบทางวิทยาศาสตร์
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมี 3 ประเภท คือ
                  1)  ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและคุณสมบัติประจำตัวของสิ่งของที่สังเกตรูปร่าง กลิ่น รส เสียง และความรู้สึกจากการสัมผัส
                 2)  ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณ
                 3)  ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตปฏิสัมพันธ์ของสิ่งนั้นกับสิ่งอื่น นอกจากนี้การได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงบางอย่างสามารถกระทำได้ด้วยการทดลอง โดยเก็บข้อมูลระยะก่อนและหลังการทดลอง หรือขณะทำการทดลอง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เสนอข้อควรระวังในการสังเกตไว้ดังนี้
                           1) ควรจดบันทึกไว้ทุกครั้ง
                           2) ควรแยกเป็นข้อสั้น ๆ เพื่อตรวจสอบง่าย
                           3) อย่าใส่ความรู้เดิม หรือการคาดคะเนลงไปด้วย ต้องเป็นการสังเกตที่ตรงไปตรงมา
2.ทักษะการวัด หมายถึง การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดปริมาณสิ่งของต่าง ๆ ออกเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยมีหน่วยกำกับเสมอ และจะต้องมีจุดมุ่งหมายในการวัดว่า จะวัดอะไร วัดทำไม จะใช้อะไรวัด และวัดอย่างไร
3.ทักษะการใช้ตัวเลข (การคำนวณหมายถึง การนำเอาตัวเลขที่ได้จากการวัด     การสังเกต
การทดลอง และจากแหล่งอื่น ๆ มาจัดกระทำให้เกิดค่าใหม่ เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร การหาค่าเฉลี่ย การยกกำลัง เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความหมายซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ในการตีความหมายและลงข้อสรุปต่อไป ตัวเลขที่นำมาคำนวณโดยทั่วไปเป็นตัวเลขที่ได้จากการใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาค่าปริมาณของสิ่งหนึ่ง เช่น ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร อุณหภูมิ หรือเวลา
4.ทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง การจำแนกหรือจัดจำพวกวัตถุหรือเหตุการณ์ออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์ในการจำแนกหรือจัดจำพวก เกณฑ์ที่ใช้อาจพิจารณาจากลักษณะที่เหมือนกัน แตกต่างกัน หรือสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ การกำหนดเกณฑ์อาจทำได้ โดยการกำหนดขึ้นเองหรือมีผู้อื่นกำหนดให้ การจำแนกประเภทอาจทำได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่กำหนด เช่น
การแบ่งประเภทสิ่งของ เกณฑ์ที่ใช้มักเป็น สี ขนาด รูปร่าง ลักษณะผิว วัสดุที่ใช้ทำ ราคาหรือการนำไปใช้ ส่วนพวกสิ่งที่มีชีวิตมักจะใช้เกณฑ์ลักษณะของเซลล์โครงสร้างและรูปร่าง อาหาร ลักษณะที่อยู่อาศัย การสืบพันธุ์ ประโยชน์ เป็นต้น

5.ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา สเปส หมายถึง ที่ว่างหรืออวกาศ สเปสของวัตถุ หมายถึง ทางที่วัตถุนั้นครองที่หรือกินอยู่ และมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแล้วสเปสของวัตถุจะมี 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และ
ความสูง (หรือความหนา)  ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสของวัตถุ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างมิติ 3 มิติ กับ 2 มิติ ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลาหรือความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนขนาดหรือปริมาณของวัตถุกับเวลาอาจกล่าวโดยภาพรวมได้ว่า การใช้ความสัมพันธ์เกี่ยวกับสเปส หมายถึง ความสามารถในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่อไปนี้ คือ
    1.  ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มิติ กับ 3 มิต
   2.  สิ่งที่อยู่หน้ากระจกเงากับภาพที่ปรากฏในกระจกเงาว่าจะเป็นซ้ายขวาของกันและกันอย่างไร 
    3.  ตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง
    4.  การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลาหรือสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับเวลา
6.ทักษะการสื่อความหมายของข้อมูล การสื่อความหมาย หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่น ๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดลำดับ การจัดหมู่ หรือการคำนวณหาค่าใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้และหรือให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลนั้น ๆ ดีขึ้น การสื่อความหมายข้อมูล สามารถนำข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้วมาเสนอและแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นได้ดีขึ้น โดยการนำเสนอได้หลายรูปแบบ คือ
1)  โดยการพูดปากเปล่าหรือเล่าให้ฟัง
2)  โดยการเขียนเป็นรายงาน
3)  โดยเขียนเป็นตาราง แผนภูมิ แผ่นภาพ แผนผัง วงจร กราฟ แผนสถิติ สมการ หรือการใช้สัญลักษณ์
4) โดยวิธีผสมผสานหลายวิธีตามความเหมาะสม
7.ทักษะการลงความคิดเห็น หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัตถุหรือปรากฏการณ์ไปสัมพันธ์กับความรู้หรือประสบการณ์เดิมเพื่อลงข้อสรุปหรืออธิบายปรากฏการณ์หรือวัตถุนั้น
8.ทักษะการพยากรณ์ หมายถึงการทำนายหรือการคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆความรู้ที่เป็นความจริง หลักการ กฎหรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น ๆ มาช่วยทำนายหรือคาดคะเน การพยากรณ์อาจทำได้ 2 แบบคือ การพยากรณ์ในขอบเขตของข้อมูล และการพยากรณ์ภายนอกขอบเขตของข้อมูล
9.ทักษะการตั้งสมมติฐานหมายถึงการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนที่จะทำการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน คำตอบที่คิดล่วงหน้านี้ยังไม่ทราบหรือเป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีมาก่อน สมมติฐานหรือคำตอบที่คิดไว้ล่วงหน้ามักเป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ซึ่งอาจผิดหรือถูกก็ได้
10.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ หมายถึง การกำหนดความหมายและขอบเขตของคำต่างๆ ในสมมติฐานที่ต้องการทดลองให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกตหรือวัดได้ ความสามารถที่แสดงว่าเกิดทักษะแล้ว คือ สามารถกำหนดความหมายและขอบเขตของคำหรือ ตัวแปรต่าง ๆ ให้สังเกตและวัดได้
11.ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร หมายถึง การชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และ ตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมติฐานหนึ่ง ๆ
   ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่าง ๆ หรือสิ่งที่เราต้องการทดลองดูว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลเช่นนั้นจริงหรือไม่
   ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้น เมื่อตัวแปรต้นหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุเปลี่ยนไป ตัวแปรตามหรือสิ่งที่เป็นผลจะเปลี่ยนตามไปด้วย
   ตัวแปรที่ต้องควบคุม คือ สิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่มีผลต่อการทดลองด้วย ซึ่งจะต้องควบคุมให้เหมือน ๆ กัน มิเช่นนั้นอาจทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนความสามารถที่แสดงว่าเกิดทักษะแล้ว คือ ชี้บ่งและกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมได้
12.ทักษะการทดลอง หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบของสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือความสามารถในการดำเนินการตรวจสมมติฐานโดยการทดลอง โดยเริ่มตั้งแต่
การออกแบบ การทดลอง การปฏิบัติการทดลองตามขั้นตอนที่ออกแบบไว้ ตลอดจนการใช้วัสดุอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องและการบันทึกผลการทดลอง
13.ทักษะการแปรความหมายข้อมูล การแปรความหมายข้อมูลหมายถึงการตีความหมายหรือการบรรยายลักษณะเพื่อสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด
การแปรความหมายข้อมูลจึงจัดเป็นกระบวนการขั้นสุดยอดหรือขั้นสุดท้ายของกระบวนการวิทยาศาสตร์ การทดลองใด ๆ แม้ว่าจะออกแบบการทดลอง ทำการทดลองอย่างรัดกุม ได้ข้อมูลจากการทดลองอย่างละเอียด แต่ถ้าขาดกระบวนการขั้นนี้ก็จะไม่สามารถสรุปผลการทดลอง ตอบรับ หรือตอบปฏิเสธสมมติฐานได้ เพราะ การแปรความหมายข้อมูล เป็น
การมองข้อมูลในทุกแง่ทุกมุม การพิจารณาถึงความหนักแน่นของหลักฐานที่สนับสนุนหรือขัดแย้ง การดึงเอาประสบการณ์ ความรู้และหลักการคิดหาเหตุผลมาเป็นเครื่องมือในการตีความหมายแล้วจึงลงเป็นข้อสรุปต่อไป



UNITEDSTATEOFAMERICAสหรัฐอเมริกา

ประเมินอาจารย์ ท่านอาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยละเอียดและเข้าใจ




AS001433 00 - เว็บฝากรูป เร็ว แรง ไม่ลบ ฟรีตลอดชีพ

Learning Log 6
Friday 20th March 2020

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรงแห่งการเรียนออนไลน์ เนืองจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องทำการเรียนการสอนแบบออนไลน์โดยการเรียนผ่านแอพลิเคชั่น ZOOM


จากนั้นท่านอาจารย์ได้มอบหมายให้ทำงานโดนการจับกลุ่ม  กลุ่มละ 2-3 คนโดนให้ทำงานทั้งหมด 4 งาน ดังนี้





สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันนี้

คือการทำงานร่วมกันกับเพื่อนในรูปแบบ Social Distancing เพื่อความปลอดภัยและเป็นการเปิดประสบการณืใหม่ในการทำงานกลุ่มโดนการติดต่อและประสานงานกันผ่านทางแอพลิเคชั่นต่างๆที่สามารถทำได้  

ประเมินอาจารย์: ท่านอาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการทำงานให้แก่นักศึกษาและเมื่อนักศึกษาไม่เข้าในและต้องการสอบถาม ท่านอาจาย์ก็ได้ตอบและให้รายละเอียดอยู่เสมอโดยไม่ปล่อยให้นักศึกษา งง และ ทำงานส่งผิดวัตถุประสงค์

LINE สติ๊กเกอร์ทางการ - A lot of cats สติกเกอร์เคลื่อนไหว 3 ...

สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ - pimjairatree

Learning Log 5
Monday 9th March 2020

*****ขาดเรียน*****

A lot of cats สติกเกอร์เคลื่อนไหว 2♪ - สติ๊กเกอร์ไลน์ - Linesticker